วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

โครงสร้างผีเสื้อ

โครงสร้างลำตัวของผีเสื้อ



 แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่






เกล็ดผีเสื้อ




1. หัว (Head) 
                 มีตาประกอบ ซึ่งเป็นตาที่ประกอบด้วยตาขนาดเล็กหลายอัน จำนวนเป็นพันๆ รวมกัน สามารถมองเห็นได้ แต่ภาพที่ออกมาเป็นภาพซ้อน ไม่ชัดเจนเหมือนตาคน ตาแมลง สามารถรับรู้สี ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสีม่วง-เขียว ทำให้สามารถ มองเห็น แสงอุลตราไวโอเลท ได้ดี ซึ่ง คนมองไม่เห็น แต่ถ้าเป็นสีในช่วงอื่นเช่น สีแดง จะมองเห็น เหมือนสีเทาหรือดำ ดอกไม้ที่ผีเสื้อชอบมักมีสีม่วง เหลือง และแดง นอกจากนี้ ผีเสื้อกลางคืน ส่วนใหญ่จะมีตาเดี่ยว (Simple eyes หรือ Ocelli) ตรงตำแหน่งหน้าผาก ระหว่างหนวดทั้งสอง แต่มักถูกขนปกคลุม จนมองไม่เห็น มีหน้าที่รับรู้ความเข้มของแสง เพื่อให้รู้ว่าเป็นเวลากลางวัน หรือกลางคืน
        หนวด (Antenna) อยู่ด้านบนสุดของหัว มี 1 คู่ เพื่อช่วยในการรับกลิ่น และการทรงตัว ในระหว่างบิน ในผีเสื้อกลางคืนบางชนิด ตัวผู้สามารถใช้หนวดรับรู้กลิ่น (Pheromone) ของตัวเมียได้ เป็นระยะทาง ไกลถึง 2 กิโลเมตร
        ปาก (Mouth) เป็นลักษณะแบบท่อดูด มีลักษณะคล้ายงวงช้าง (Proboscis) สามารถ ยืดออกได้ตอนกินอาหาร และม้วนกลับเข้าไปในเวลาปกติ ดังนั้นอาหารที่ผีเสื้อ กิน ต้อง เป็นของเหลว เช่น น้ำหวานจากดอกไม้ น้ำจากผลไม้ที่มีรสหวาน น้ำเลี้ยงจากพืชบางชนิด และแร่ธาตุที่ปนอยู่ในดิน ระยางค์ปากส่วนอื่น เช่น ริมฝีปากบน (Labrum) ลดรูปลงไปนมี ขนาดเล็กมาก

2. อก (Thorax) 
               มี 6 ขา และ 4 ปีก ส่วนอกแบ่งเป็น 3 ปล้อง (Segment) ด้านล่าง ของแต่ละ ปล้องมีขา 1 คู่ ด้านบนมีปีก 2 คู่ 
        ตำแหน่งของโคนปีกคู่แรก (Front Wing) อยู่ในปล้องเดียวกับขาคู่ที่สอง และปีกคู่ที่สอง (Hind Wing) อยู่ตรงกับขาคู่ที่ 3 ปีกมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ไม่มีกล้ามเนื้อ ปีกคู่แรก มักยาวกว่า คู่ที่สอง ภายในเส้นปีก (Vein) มีลักษณะเป็นท่ออากาศ (Trachea) และมีเส้นประสาท ช่วยใน การรับความรู้สึก นอกจากนี้ภายในปีกมีช่องว่าง ซึ่งเป็นทางเดินของเลือดไปหล่อเลี้ยง ที่บริเวณปีกด้วย เส้นปีกช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับปีก 

        ปีกของผีเสื้อมีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนแมลงในกลุ่มอื่น คือ ผิวด้านนอกของปีก และลำตัวมีเกล็ด คล้ายเกล็ดปลา มีสีสันตามชนิดของผีเสื้อนั้นๆ เมื่อจับผีเสื้อ ถ้าไม่ระมัดระวัง ให้ดี เกล็ดของผีเสื้อหลุดออกมา จะทำให้เกิดเป็นรอยด่างขึ้นได้
        ในการบิน ผีเสื้อใช้กล้ามเนื้อบริเวณโคนปีก ช่วยในการดึงให้ปีกกางและหุบ ได้อย่าง รวดเร็ว ถึงแม้ว่าผีเสื้อบางตัวปีกขาดไป ซึ่งอาจเนื่องมาจากบินชนสิ่งกีดขวาง ถูกนกจิก หรือ สัตว์อื่นทำร้าย แต่ก็ยังสามารถบินหาอาหารได้ตามปกติ เพราะมีหนวดช่วยรับรู้ในการทรงตัว
       เนื่องจากผีเสื้อเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อม ได้ ดังนั้นจึงต้องการความร้อนจากแสงแดด เพื่อกระตุ้นให้การทำงานของอวัยวะต่างๆเป็น ไปตามปกติ เราจึงมักเห็นผีเสื้อออกมาอาบแดดในช่วงเช้า อุณหภูมิร่างกายผีเสื้อที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้ผีเสื้อออกบิน จะอยู่ที่ประมาณ 33 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผีเสื้อในประเทศเขตร้อน ออกหากินในเวลาเช้าที่เริ่มมีแดด แต่ผีเสื้อ ในประเทศเขตหนาว ในช่วงที่อากาศยังหนาวและไม่มีแดด ส่วนใหญ่ออกหากินในตอนสาย หรือบ่าย
       ผีเสื้อโดยทั่วไปไม่มีอวัยวะช่วยในการรับฟังเสียง จากการศึกษาของนักชีววิทยา ชาวแคนานาเมื่อปีที่แล้ว (2543) พบว่าผีเสื้อบางชนิดในเขตร้อน ที่ออกหากินในตอนกลางคืน ตรงบริเวณปีกจะมีอวัยวะดังกล่าว ทำให้มันสามารถรับรู้ทิศทาง และระยะห่างของเสียงได้ เชื่อว่าเป็นวิวัฒนาการเพื่อหลบเลี่ยงการถูกศัตรูทำร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งค้างคาว สำหรับ ผีเสื้อกลางคืน โดยทั่วไปมีอวัยวะช่วยในการฟังเสียงทุกชนิด

3. ท้อง (Abdomen) 
              คือส่วนที่อยู่ถัดจากส่วนอก ไปจนถึงปลายลำตัว ซึ่งมี 10 ปล้อง แต่เห็น จากภายนอก 8 ปล้อง อีก 2 ปล้องที่เหลือ เปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยวะสืบพันธุ์
       
ผีเสื้อไม่มีจมูก แต่ใช้รู (Spiracles) บริเวณด้านข้างลำตัว ทำหน้าที่เหมือนจมูกเพื่อช่วยใน การหายใจ พบทั้งสองข้างของปล้องท้องและบางปล้องของส่วนอก ปล้องละ 1 คู่ ซึ่งด้าน นอกสุดมีลิ้นที่สามารถเปิดปิดให้อากาศเข้าออกได้เองโดยอัตโนมัติ รูหายใจนี้พบในแมลง ทุกชนิด ดังนั้น ถ้าจะกล่าวว่าแมลงหายใจทางผิวหนังจากรายการเกมส์โชว์ในโทรทัศน์ (..เป็นคำตอบสุดท้าย) คงไม่ถูกต้องนัก
       
ส่วนท้ายสุดของท้อง ด้านบนเป็นทวารหนัก เนื่องจากผีเสื้อกินอาหารที่เป็นน้ำเท่านั้น ดังนั้นของเสียที่ถ่ายออกมาจึงมีลักษณะเป็นของเหลวทั้งหมด 
       
ด้านล่างของทวารหนัก เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ การแยกเพศโดยอาศัยอวัยวะสืบพันธุ์ ในผีเสื้อทำได้ค่อนข้างยากมาก ถ้าเป็นผีเสื้อขนาดเล็ก จำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วย ผีเสื้อขนาดใหญ่บางชนิดก็สังเกตุได้ยากเช่นกัน และผลเสียคือ ต้องจับมาดู หรือฆ่าเสียก่อน ดังนั้นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการแยกเพศผีเสื้อ คือ การสังเกตรูปร่าง สีสันของปีก และจุดแต้มต่างๆของสีปีก เนื่องจากผีเสื้อบางชนิด






    ที่มา  http://student.nu.ac.th/zay/BUTTERFLY2.html   
    วันที่  1/02/56 

3 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาละเอียดดีคะ ขอบคุณคะสำหรับข้อมูล

    ตอบลบ
  2. ดีคะ แต่ตัวหนังสือเล็กไปคะ

    ตอบลบ
  3. ได้ความรู้ตามที่ต้องการดีค่ะ

    ตอบลบ