วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วงจรชีวิตของผีเสื้อ


                                             วงจรชีวิตของผีเสื้อ


     

ก่อนที่จะมาเป็นผีเสื้อที่สวยงาม ชีวิตต้องผ่านขั้นตอยต่างๆมากมาย ต้อง เสี่ยง ภัยอันตรายที่มีอยู่รอบ ด้านเพื่อให้ไปถึงจุดสูงสุด ของการเป็นเเมลง ที่สวยงาม ที่สุด ในโลกเพียง 1-2สัปดาห์ อันเป็นช่วงเวลา ของการสืบ ต่อ เผ่าพันธุ์ของตนตลอด จนพันธุ์ไม้ อีกมาก มีผู้ประเมินว่า หากผีเสื้อตัวหนึ่งวางไข่ 150 ฟอง จะมีอยู่เพียง 2ฟองเท่านั้นที่ สามารถ เจริญเติบโตเป็นผีเสื้อได้ ทั้งนี้ เนื่องจากในระยะต่างๆ ของ ผีเสื้อต้องผจญ กับ อุปสรรคมากมาย ปัญหาจาก สิ่งเเวดล้อม ปัญหาของการเเก่ง เเย่ง กันเอง การเจริญเติบโต ของผีเสื้อ จะเป็นเเบบสมบูรณ์      กล่าวคือเเต่ละขั้นของการเจริญเติบโตจะมีรูปร่างสีสรรที่เเตกต่างกันโดยสิ้นเชิง สามารถเเบ่งเเยกได้เป็น ระยะด้วยกัยคือ

  ไข่

ผีเมื้อหลังจากผ่านการผสมพันธุ์เเล้ว จะบินไปที่พืชอาหารของ ตัวหนอนเพื่อวางไข่ ไข่มีรูปร่างต่างกันขึ้นอยู่กับวงศ์ของผีเสื้อ บางชนิด มีรูปร่างกลม บางชนิดเป็นกรวย ในการวาง ไข่ผีเสื้อจะวางไว้ที่พืชอาหาร อาจวางเดี่ยวๆหรือเป็นกลุ่ม หรือบางชนิดวางไว้ใกล้กับพืชอาหาiซึ่งไข่ ของผีเสื้อใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 3-5 วันจึงฟักเป็นตัวหนอน                                                   
ตัวหนอน

          หลังจากตัวหนอนฟักออกจากไข่เเล้ว ตัวหนอน มี ลักษณะที่เเตกต่าง กันอาหาร อย่างเเรกที่ ตัวหนอนกินคือ เปลือกไข่ของตัวเอง หลังจากนั้น ตัวหนอนจึงเริ่มกิน ใบพืช โดยเริ่มที่ใบอ่อน ก่อน ซึ่งลักษณะการกินของ ตัวหนอนจะเริ่ม จากขอบใบ เข้าหา กลางใบ เเละจะมี การลอกคราบ เพื่อขยายขนาด 4-5 ครั้ง โดยคลอด ระยะเวลาที่เป็น ตัวหนอนนี้ มีความเปลี่ยนเเปลง เกิดขึ้น นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นเเล้ว บางชนิด สีสรร เเละ รูปร่าง ก็เเตกต่างกันไปด้วยช่นหนอนผีเสื้อหางติ่งหนอนมะนาว ในระยะเเรกๆสีสรรก็เหมือนมูลนก เเต่เมื่อตัวหนอนโตขึ้น สีสรรจะ เปลี่ยนไปเป็นสีเขียว มีลวดลายคล้ายตาที่ส่วนอก ด้วย เป็นต้น เเต่ทั้งหมด มีสิ่งหนึ่งซึ่งทำ ให้สามารถ จำเเนกว่าเป็นตัวหนอนผีเสื้อได้คือ ตัวหนอน มีขาจริง คู่ที่ส่วนอก เเละขาเทียม 4-5 คู่ที่ส่วนท้อง ตัวหนอน ทั่วไป มักหากินเดี่ยวๆ เเต่ก็มีบางชนิดทีระยะเเรกๆ หากินกัน เป็นกลุ่ม ในระยะนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน


ดักแด่

เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะต้องมองหาสิ่งที่ที่จะลอกคราบ เพื่อเข้า ดักเเด้ ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เเต่ภาย ในเปลือกดักเเด้ การ พัฒนา ต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นระยะที่มีการ สะสมอาหาร ไว้อย่างเต็มที่ เป็นที่ หมายปองของเหล่าบรรดารตัวเบียนต่างๆ ตัวหนอนขอ ผีเสื้อ เเต่ละชนิด จะเลือกที่เข้าดักเเด้ต่างกันไป ระยะ ดักเเด้ใช้เวลาประมาณ 7-10

ตัวเต็มวัย 
      
                คือผีเสื้อที่มีสีสรรสวยงาม เริ่มต้นนับตั้งเเต่ออกจากดักเเด้ โดย ผีเสื้อ ช่ขาดันเปลือกดักเเด้ให้ปริเเตกออก เเละผีเสื้อที่มีปีก ยับยู่ยี่ จะออกมา ใน ลักษณะห้อยหัวลงพร้อมถ่ายของเสีย ที่เป็สีชมพูออก มา ในระยะเเรกปีก ของผีเสื้อยังไม่สามารถเเผ่ได้ จำเป็นต้องมีการปั้มของ เหลวเรียกว่า ฮีโมลิมพ์ เข้าไปในเส้นปีก เเละต้องใช้เวลา ชั่วโมงใน การทำให้ปีกเเข็ง พอที่จะใช้ในการบิน ผีเสื้อสามารถอยู่ ได้ 2-3 วัน บางชนิดอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดเเละเเต่ละช่วงอายุขัย





  ที่มา  http://student.nu.ac.th/zay/BUTTERFLY3.html   
 วันที่  1/02/56

2 ความคิดเห็น:

  1. จัดเนื้อหาได้เป็นระเบียบ เป็นขั้นตอนดีคะ

    ตอบลบ
  2. ดีคะ แต่ตัวหนังสือเล็กไปคะ

    ตอบลบ