วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผีเสื้อกลางวัน-ผีเสื้อกลางคืน

ผีเสื้อกลางวัน-ผีเสื้อกลางคืน ต่างกันอย่างไร


(ดูรูป)
ผีเสื้อกลางวัน
ผีเสื้อกลางคืน
เวลาเกาะ
หุบปีก ตั้งขึ้น หรือเป็นรูปตัววี
กางปีก ราบกับพื้น
หนวด
เป็นรูปกระบอง ปลายใหญ่
มีหลายแบบ แต่มักเป็นรูปขนนก หรือเส้นด้าย
ลำตัว
ผอม ยาวเรียว ไม่มีขน
ป้อม สั้น มีขนมาก
ระยะดักแด้
ไม่มีใยหุ้มตัว แต่จะสร้างใยเพื่อยึดส่วนท้ายของลำตัว ติดกับพืช
มักมีใย (Cocoon) หุ้มตัว แบบเดียวกับรังไหม บางชนิดไม่สร้างใย เข้าดักแด้บนพื้นดินในลักษณะเปลือย



        นอกจากนี้ยังมีลักษณะที่แตกต่างอื่นๆอีก เช่น ผีเสื้อกลางวัน สีสันสดใสกว่าหากิน เฉพาะกลางวัน ปากมีลักษณะเป็นงวง แต่ผีเสื้อกลางคืน จะมีลักษณะตรงข้าม คือ มักมี สีน้ำตาลและไม่มีลายเด่นชัด หากินกลางคืน และหลายชนิดปากลดรูปไป จนไม่สามารถ กินอาหารได้ (เช่น ผีเสื้อยักษ์ รูปบน ขวามือ)
             อย่างไรก็ตามลักษณะดังกล่าวอาจไม่เป็นจริงเสมอไป เช่น ผีเสื้อกลางวัน บางชนิด อาจเกาะกางปีก เช่นผีเสื้อแผนที่ธรรมดา ผีเสื้อช่างร่อน หรือมีขนตามลำตัว และลำตัว ค่อนข้างป้อมอ้วนได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในวงศ์ผีเสื้อบินเร็ว เช่น ผีเสื้อหนอนม้วนใบกล้วย   แต่ถ้าเราฝึกดูผีเสื้อไปสักพัก และเริ่มรู้จักผีเสื้อบ้างบางชนิด การแยกว่าตัวไหนเป็นผีเสื้อกลางวัน-กลางคืน ก็ไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป



ที่มา    http://student.nu.ac.th/zay/Butterfly4.html   
 วันที่ 1/02/56


2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณคะสำหรับข้อมูล ตัวหนังสือตรงย่อหน้าสุดท้ายเล็กไปนะคะ

    ตอบลบ
  2. ตัวหนังสือเล็กไป นอกนั้นดีคะ

    ตอบลบ